1.วิธีการดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์
คำถาม : การดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์มีวิธีการดำเนินการอย่างไร |
คำตอบ : การขอจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์จะต้องปฏิบัติเป็นไปตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ประกอบระเบียบ นายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยวิธีดำเนินการขอจัดตั้งสหกรณ์ พ.ศ.2547 ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิก โดยวิธีช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์ มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และผู้ขอจัดตั้งต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์ ซึ่งกำหนดไว้ 7 ขั้นตอน และสามารถสอบถามข้อมูลการจัดตั้งสหกรณ์โดยตรงได้ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร ชั้น 2 ถนนกำแพงเพชร - สุโขทัย ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 โทรศัพท์ 055 - 705046 แฟกซ์ 055 - 705047 |
2.การแนะนำ ส่งเสริมสหกรณ์
1.คำถาม : การนับระยะเวลาการเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปีภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี ของสหกรณ์ ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 เช่น วันสิ้นปีทางบัญชี 31 มีนาคม
จะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม หรือวันที่ 1 เมษายน เป็นวันแรก
คำตอบ : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช มาตรา 193/3 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือนหรือปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเอง ตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี" จึงให้เริ่มนับวันที่ 1 เมษายน เป็นวันแรก
2.คำถาม : หากคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เรียกประชุมใหญ่เกินกำหนดระยะเวลา 150 วัน นับแต่วันสิ้นทางบัญชีของสกรณ์จะเรียกการประชุมใหญ่ครั้งนั้นว่า "การประชุมใหญ่สามัญประจำปี" หรือ"การประชุมใหญ่วิสามัญ"
คำตอบ : ระยะเวลาหนึ่ร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติสหกณ พศ. 2542 เป็นเพียระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อเร่งรัดให้คณะกรรมการดำเนินการจะต้องเรียกประชุ,ใหญ่สามัญภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเท่นั้น มิใช่กำหนดเวลาที่จะทำให้สาระสำคัญของการประชุมใหญ่สามัญเปลี่ยนแปลงไปจนทำให้การประชุมใหญ่ดังกล่าวเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญดังนั้น ในกรณีที่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เรียกประชุมใหญ่ของสหกรณ์เกินหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของสหกรณ์ การประชุมใหญ่ครั้งนั้นก็ยังคงถือว่าเป็นการประชุมใหญ่สามัญประจำปี(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร 0601 1848 ลว. 13 ก.ย. 2543 ภาคผนวกที่ 2 หน้า 39)
3.คำถาม : สหกรณ์เรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี แต่มีสมาชิกมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม สหกรณ์จึงได้นัดประชุมใหญ่อีครั้งภายในสิบสี่วันตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แต่ก็ยังมีสมาชิกมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม จะเรียกการประชุมใหญ่ครั้งต่อๆ ไปว่า "การประชุมใหญ่สามัญประจำปี"หรือ"การประชุมหญ่วิสามัญ" และหากนัดประชุมใหใหม่แล้วยังมีสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุมตามมาตรา57 และมาตรา 58 อีก จะต้องแนะนำสหกรณ์ปฏิบัติอย่างไร
คำตอบ : การประชุมใหญ่ตมประเด็นปัญหามีสาระสำคัญเป็นการประชุมใหญ่สามัญประจำปี แต่ที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินการได้เพราะมีสมาชิกมาร่วมประชุมไม่ครบจำนวนที่จะเป็นองค์ประชุม การนัดประชุมใหญ่ครั้งต่อไปไว่าจะสามารถดำเนิการให้สำเร็จลงได้ในเวลาใด ก็ไทำให้สาระสำคัญของการประชุมใหญ่สามัญเปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญแต่อย่างใด ดังนั้น การประชุมใหญ่ครั้งต่อไปของสหกรณ์ตมประเด็นปัญหา จึยังเรียกว่า "การประชุมใหญ่สามัญประจำปี"กรณีที่นัดประชุใหญ่แล้วยังมีสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุมอีก สหกรณ์สามารถนัดประชุมใหญ่โดยใช้องค์ประชุมตามมาตรา 57 และมาตรา 58 แห่งพระราชญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 สลับกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถประชุมได้ และหากสหกรณ์จังหวัดเห็นว่มีเหตุที่นายทะเบียนสหกรณ์จะสั่งเลิกสหกรณ์ตามมาตรา71(1) หรื (2) ได้ ก็สามารถใช้อำนาจตามที่ได้รับมอบจากนายทะเบียนสหกรณ์สั่งเลิกสหกรณ์ดังกล่าวเสียได้(หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ กษ 0216/33360 สงวันที่ 12 ธันวาคม 2544 ภาคผนวกที่ 3 หน้า 50)
4.คำถาม : สหกรณ์จะกำหนดในข้อบังคับให้มีการประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิกหรือสมาชิกก็ได้ สุดแต่คณะกรรมการดำเนินการจะเห็นสมควรในแต่ละ จะสามารถกำหนดได้หรือไม่
คำตอบ : การที่มาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติเรื่องการประชุมใหญ่ไว้สองลักษณะ คือ การประชุมใหญ่โดยสมาชิทั้งหมดหรืการประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิก เนื่องจาก สหกรณ์ที่จัดตั้งตาม
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มีได้ทั้งสหกรณ์ขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนสมาชิกไม่ถึงห้าร้อยคน และสหกรณ์ขนาดใหญ่ซึ่งมีสมาชิกตั้งแต่หร้อยคนขึ้นไป และได้กำหนดให้สหกรณ์ขนาดใหญ่สามารถเลือกที่จะกำหนดในข้อบังคับได้ว่าจะให้มีกรประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิกหรือสมาชิกทั้งหมดเพื่อให้มืองค์ประชุมที่มีขนาดเหมาะสม ความสะดวกในการจัดหาสถานที่ประชุมและการจัดทำเอกสาร รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายในการประชุมใหญ่ จึงเป็นสาระสำคัญที่สหกรณ์จะต้องกำหนดให้ชัดเจนและแน่นอนในข้อบังคับ มิใช่เป็นอำนาจของคณะกรรมการดำเนินการที่จะเปลี่ยนแปลงหอเลือกที่จะประชุมโดยสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกได้ในแต่ละปี (หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ กษ 1108/45 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2550 ภาคผนวกที่ 4 หน้า 52)
5.คำถาม : สหกรณ์จะกำหนดความหมายของคำว่ "ประชุมใหญ่" ให้ครอบคลุมพื้นที่อื่นๆ ที่เป็นหน่วยเลือกตั้งของสหกรณ์ในเขตต่างๆ ของกรุงเทพมหานครได้หรือไม่
คำตอบ : ที่ประชุมใหญ่ หมายถึง ที่ประชุมร่วมกันของบรรดาสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกแล้วแต่กรณี ซึ่งได้มาประชุมร่วมกันเพื่อพิจรณาหรือรับทราบเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของสหกรณ์ ตามที่ข้อบังคับสหกรณ์หรือกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์กำหนดไว้องค์ประกอบของที่ประชุมใหญ่จะต้องประกอบไปด้วย สถานที่และเวลาที่ประชุม องค์ประชุม วาระการประชุม และมติที่ประชุ สถานที่ประชุมจะต้องเป็นสถานที่เดียวกันหรือบริเวณเดียวกัน พอที่สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกจะสามารถแสดงความเห็นโต้ตอบกันได้ในขณะที่ดำเนินการประชุมนั้น ดังนั้น การที่สหกรณ์กำหนดให้หน่วยเลือกตั้งเป็น "ประชุมใหญ่" จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว หน่วยเลือกตั้งเป็นสถานที่ที่สมาชิกส่วนหนึ่งไปทำกิจกรรมลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่นั้น หาใช่เป็นการประชุมไม่ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่ว สหกรณ์อาจกำหนดระเยบว่ด้วยการสรรหาบุคคลที่จะเสนอให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งเป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ เนื่องจากการสรรหาไม่ต้องทำในที่ประชุมใหญ่และสามารถดำเนินการก่อนวันประชุมใหญ่ได้ (หนังสือนายทะเบียนสหรณ์ ที่ กษ 0216/28227 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ภาคผนวกที่ 5 หน้า 54)
6.คำถาม : สหกรณ์จะจัดให้มีการประชุมใหญ่ 2 วัน จะกระทำได้หรือไม่
คำตอบ : สหกรณ์อาจกำหนดการประชุมใหญ่ วัน ต่อเนื่องกันได้โดยกำหนดวาระการประชุม สถานที่ประชุไว้แห่งเดียวกันให้ชัดเจน และการประชุมต้องมีสมาชิกอยู่ในที่ประชุมครบองค์ประชุมตลอดเวลาการประชุม จึงจะเป็นการประชุใหญ่ที่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับ(หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ กษ 0218128227 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ภาคผนวกที่ 5 หน้า 54)
7.คำถาม : สหกรณ์ชนาดใหญ่จะใช้องค์ประชุมในการประชุมใหญ่ โดยต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน
คำตอบ : มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ ผศ. 2542 ได้บัญญัติเรื่องการนับองค์ประชุมในกรณีการประชุใหญ่ของสหกรณ์โดยสมาชิกไว้สองลักษณะ คื ลักษณะที่หนึ่ง จะต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด ลักษณะที่สอง จะต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน เนื่องจากสหกรณ์ที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ฯ มีได้ทั้งสหกรณ์ขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนสมาชิกไม่ถึงหนึ่งร้อยคนและสหกรณ์ขนาดใหญ่ซึ่งมีมาชิกตั้งแต่หนึ่ร้อยคนนไป ดังนั้น การนับองค์ประชุมของสหกรณ์ขนาดเล็กจึงต้องนับองค์ประชุมตามลักษณะที่หนึ่ง ส่วนการนับองค์ประชุมของสหกรณ์ขนาดใหญ่จะนับองค์ประชุมตามลักษณะที่หนึ่งหรือลักษณะที่สองก็ได้(หนังสือสำนักงนคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร 08011848 ลว. 13 กย. 2543 ภาคผนวกที่ 2 หน้า 39)
8.คำถาม : สหกรณ์มีสมาชิกทั้งหมด 1,000 คน ในวันประชุมใหญ่มีสมาชิกมาลงชื่อเข้าร่วมประชุม 600 คนในระหว่างประชุมมีมาชิกเหลืออยู่ในที่ประชุมจำนวน 300 คน ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง (500 คน) แต่เกิน 100 คนจะถือว่าครบองค์ประชุมหรือไม่
คำตอบ : การนับจำนวนสมาชิกจะต้องนับจากสมาชิกซึ่งอยู่ในที่ประชุม เมื่อจำนวนสมาชิกซึ่งอยู่ในที่ประชุมยังมีจำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน การประชุมดังกล่วยังครบเป็นองค์ประชุมตามที่มาตรา 57 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 บัญญัติไว้(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร 0601/848 ลว. 13 ก.ย. 2543 ภาคผนวกที่ 2 หน้า 39)
9.คำถาม : การนับคะแนนเสียงกึ่งหนึ่งหรือไม่น้อยกว่าสองในสามจะต้องนับจากสมาชิกที่มาลงชื่อเข้าประชุมหรือสมาชิกที่มาลงซื่อและอยู่ในที่ประชุม
คำตอบ : การนับคะแนนเสียงกึ่งหนึ่งหรือไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกซึ่งมาประชุม จะต้องนับคะแนนเสียงจากจำนวนสมาชิกที่มาลงชื่และอยู่ในที่ประชุม ในชณะที่การประชุมนั้นครบเป็นองค์ประชุม(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร 0601/848 ลว. 13 ก.ย. 2543 ภาคผนวกที่ 2 หน้า 39)
10.คำถาม : ในการประชุมใหญ่ของสหกรณ์ได้มีสมาชิกเสนอเพิ่มวาระเรื่องต่างๆ ให้ที่ประชุมได้พิจารณาในระหว่างการประชุมจะกระทำได้หรือไม่
คำตอบ : ข้อบังคับกำหนดให้สหกรณ์มีหนังสืแจ้งวัน เวลา สถานที่ และเรื่องที่จะประชุมให้บรรดาสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทราบล่วหน้ เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิได้ศึกษา พิจารณา ตรวจสอบ หรือเพื่อเตรียมตัวชักถาม หรือแสดความคิดเห็นในเรื่องต่งๆ ตามที่สหกรณ์ได้แจ้งมา ซึ่งตามปกติการจัดการประชุมใหญ่สหกรณ์จะกำหนดวาระต่งๆ ไว้อย่งชัดเจน รวมทั้งกำหนดวาระเรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) ไว้ด้วย และเปิดโอกาสให้สมาชิกได้พิจรณาเพื่อลมติ ทั้งการอนุมัติหรือการรับทราบของแต่ละวาระ ดังนั้น สมาชิกจะขอเพิ่มวาระในวันที่ประชุหญ่โดยไม่ได้แจ้งล่วงหนไม่สามารถกระทำได้ (หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ กษ 0216/29812 ลว. 28 พย 2543 ภาคผนวกที่ 6 หน้า 56)
11.คำถาม : ในระเบียบวาระอื่นๆสมาชิกสามารถสนอให้ที่ประชุมพิจรณาหรือรับทราบในเรื่องลักษณะใดได้บ้าง
คำตอบ : สมาชิกสามารถใช้สิทธิเสนอเรื่องต่งๆ ในวาระอื่นๆ ได้ แต่การพิจารณาของที่ประชุมใหญ่อาจจะไม่ได้ข้อยุติในทันที ซึ่คณะกรรมการดำเนินการจะต้องรับข้อเสนอไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำเสนอในการประชุมใหญ่คราวต่อไป(หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ กษ 0216/29612 ล2. 28 พย. 2543 ภาคผนวกที่ 6 หน้า 56)
12.คำถาม : สหกรณ์จะกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีว่า "จ่ายเป็นเงินโบนัสแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ไม่ต่ำกว่ร้อยละ 2" จะสามารถกำหนดได้หรือไม่
คำตอบ : ไม่สามารถกำหนดได้ เนื่องจากการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีเป็นโบนัสแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ เป็นดุลยพินิจของที่ประชุมใหญ่ที่จะจัดสรรจำนวนเท่ใดย่อมขึ้นกับกำไรสุทธิของสหกรณ์ในแต่ละปิเป็นสำคัญ(หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ กษ 0216/07008 ลงวันที่ 4 มษายน 2543 ภาคผนวกที่ 8 หน้า 61)
13.คำถาม : สมาชิกสหกรณ์แจ้งให้รองนายทะเบียนสหกรณ์เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญ เนื่องจากเห็นว่าที่ประชุใหญ่ของสหกรณ์ เมื่วันที่ 21 กันยายน 2549 ลงมติเห็นชอบให้มีการทบทวนมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำ 2547 โดยไม่ได้แจ้งวาระให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของสหกรณ์ มติของที่ประชุมใหญ่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับหรือไม่
คำตอบ : สหกรณ์ได้มีการแจ้งกำหนดวันประชุมใหญ่วิสมัญ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2549 ให้สมาชิกทราบและปรากฏว่าได้มีสมาชิกเข้าร่วมประชุใหญ่ครบองค์ประชุมโดยไม่มีสมาชิกคนใดโต้แย้งว่าการแจ้งกำหนดวันประชุมใหญ่วิสามัญไม่ชอบหรือมีสมาชิไม่ทราบการประชุใหญ่ดังกล่าว รวมทั้งผู้ร้องเองก็ไม่ได้โต้แย้งเช่นกัน เมื่อสหกรณ์มีกรประชุใหญ่ครบองค์ประชุมตามข้บังคับ การประชุมใหญ่วิสามัญและการลงมติในการประชุมดังกล่าวจึงเป็นการประชุมที่ชอบด้วยข้อปังคับแล้ว (หนังสือสำนักงานเลขานุการคม ที่ กษ 1101635 ลงวันที่ 11 กันยายน 2550 ภาคผนวกที่ 9 หน้า 63)
3.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
1.คำถาม : พนักงานราชการสามารถขออนุญาตใช้รถราชการได้หรือไม่
คำตอบ : ได้ หากเป็นการขอใช้รถเพื่อปฏิบัติงานราชการ
2.คำถาม : การเบิกค่าพาหนะที่ไม่ใช่ยานพาหนะประจำทางต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นหรือไม่
คำตอบ : ต้องชีแจง ในกรณีที่ไม่มียานพาหนะประจำทางหรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้ใช้ยานพาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางจะต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นไว้ในหลักฐานการขอเบิกค่าพาหนะ
3.คำถาม : ส่วนราชการเชิญเจ้าหน้าที่สหกรณ์มาร่วมประชุมกับข้าราชการในจังหวัด สามารถเบิกค่าพาหนะได้หรือไม่ และใช้แบบใบสำคัญรับเงินค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคคลภายนอกเป็นหลักฐานการจ่ายได้หรือไม่
คำตอบ : เบิกได้ โดยการเบิกค่าพาหนะให้ใช้ใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (แบบ 8708) ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน (แบบ 4231) ตามหนังสือกระทรวงการคลัง โดยให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริง
4.คำถาม : สิทธิการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเกิดขึ้นเมื่อใด
คำตอบ : ตั้งแต่ที่ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการจากผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางชั่วคราว, การเดินทางประจำหรือการเดินทางกลับภูมิลำเนา
5.คำถาม : การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทาง นับอย่างไร
คำตอบ : ให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติแล้วแต่กรณี ดังนี้
1. กรณีที่มีการพักแรมให้นับ 24 ชม.เป็น 1 วัน ถ้าไม่ถึง 24 ชม. หรือเกิน 24 ชม.และส่วนที่ไม่ถึงหรือเกิน 24 ชม.นั้นนับได้เกิน 12 ชม. ให้ถือเป็น 1 วัน
2. กรณีมิได้มีการพักแรม หากนับได้ไม่ถึง 24 ชม. และส่วนที่ไม่ถึงนับได้เกิน 12 ชม.ให้ถือเป็น 1 วัน หากนับได้ไม่เกิน 12 ชม.แต่เกิน 6 ชม. ให้ถือเป็นครึ่งวัน
6.คำถาม : เงินชดเชยในการใช้ยานพาหนะส่วนตัวในการเดินทางไปราชการ เบิกอย่างไร
คำตอบ : เงินชดเชยในการใช้ยานพาหนะส่วนตัวในการเดินทางไปราชการ เบิกได้ดังนี้
- รถยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมตรละ 4 บาท
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมตรละ 2 บาท
7.คำถาม : พนักงานราชการใช้รถส่วนตัวที่ไม่ใช่รถของตัวเองเบิกค่าพาหนะได้หรือไม่
คำตอบ : ได้ โดยเบิกในอัตราชดเชยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวในการเดินทางไปปฏิบัติราชการ
8.คำถาม : การใช้พาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ ผู้เดินทางจะต้องดำเนินการอย่างไร
คำตอบ : ผู้เดินทางต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้ และต้องใช้พาหนะนั้นตลอดเส้นทางจึงจะมีสิทธิเบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่ายได้ คือ
1. อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์หรือตำแหน่งเทียบเท่าสำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หัวหน้าสำนักงาน สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง ที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาคหรือผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีสหกรณ์ซึ่งมีสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม
2. สหกรณ์จังหวัด สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค
9.คำถาม : กรณีเดินทางไปราชการ ถ้าสิ้นสุดการปฏิบัติราชการอย่างไรจึงจะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะถูกต้อง
คำตอบ : ค่าเบี้ยเลี้ยงให้นับตั้งแต่วันที่ออกเดินทางจนถึงวันสิ้นสุด การลาพักผ่อนมานับรวมเพื่อเบิกเบี้ยเลี้ยงไม่ได้
10.คำถาม : ค่าสมภาระในการเดินทางไปราชการโดยเครื่องบิน และค่าเช่าที่พักผ่านตัวแทนจำหน่าย Traveloka, Agoda, Booking, Trivago สามารถนำมาเบิกได้หรือไม่
คำตอบ : เบิกได้ ซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดวิธีปฏิบัติและหลักฐานการเบิกจ่ายเงินไว้โดยในการซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินให้ เบิกค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าพาหนะรวมถึงค่าสัมภาระ ที่สายการบินเรียกเก็บได้ และในส่วนของค่าเช่าที่พักกรณีติดต่อกับตัวแทนจำหน่ายให้ใช้ใบเสร็จรับเงินของตัวแทนจำหน่าย หรือที่พิมพ์ออกจากระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็น หลักฐานเบิกได้ ดังนั้น ค่าสัมภาระในการเดินทางโดยเครื่องบินและค่าเช่าที่พักผ่านตัวแทนจำหน่ายจึงสามารถนำมาเบิกจากทางราชการได้
11.คำถาม : ค่าสมภาระในการเดินทางไปราชการโดยเครื่องบิน และค่าเช่าที่พักผ่านตัวแทนจำหน่าย Traveloka, Agoda, Booking, Trivago สามารถนำมาเบิกได้หรือไม่
คำตอบ : เบิกได้ ซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดวิธีปฏิบัติและหลักฐานการเบิกจ่ายเงินไว้โดยในการซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินให้ เบิกค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าพาหนะรวมถึงค่าสัมภาระ ที่สายการบินเรียกเก็บได้ และในส่วนของค่าเช่าที่พักกรณีติดต่อกับตัวแทนจำหน่ายให้ใช้ใบเสร็จรับเงินของตัวแทนจำหน่าย หรือที่พิมพ์ออกจากระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็น หลักฐานเบิกได้ ดังนั้น ค่าสัมภาระในการเดินทางโดยเครื่องบินและค่าเช่าที่พักผ่านตัวแทนจำหน่ายจึงสามารถนำมาเบิกจากทางราชการได้
12.คำถาม : การเบิกค่าขนย้าย ต้องได้รับอนุมัติเดินทางไปราชการ และระยะทางที่เบิกใช้ระยะทางของกรมทางหลวง
คำตอบ : การเบิกค่าขนย้าย ต้องได้รับอนุมัติเดินทางไปราชการ และระยะทางที่เบิกใช้ระยะทางของกรมทางหลวง
13.คำถาม : การแข่งขันกีฬากรมส่งเสริมสหกรณ์เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ได้หรือไม่
คำตอบ : การแข่งขันกีฬากรมส่งเสริมสหกรณ์ ไม่ถือเป็นการปฏิบัติราชการ เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไม่ได้
3.ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
1.คำถาม : การจัดประชุม มีเวลาการประชุม 9.00 น. - 12.00 น. จะเลี้ยงอาหารกลางวันได้หรือไม่
คำตอบ : ไม่ได้ การเบิกค่าอาหารในการประชุมจะเบิกได้ถ้ามีช่วงระยะเวลาการประชุมคาบเกี่ยวในมื้ออาหารนั้น ดังนั้น หากมีการประชุมถึงเวลาประมาณ 13.30 น. ก็สามารถเบิกอาหารกลางวันได้
2.คำถาม : ในการจัดอบรมจ่ายค่าพาหนะให้ผู้เข้ารับการอบรมแต่ละคนเท่ากันได้หรือไม่
คำตอบ : ค่าพาหนะต้องเบิกจ่ายตามจริง แต่ถ้าวงเงินงบประมาณจํากัด ให้กำหนดว่าให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินวงเงินงบประมาณ
3.คำถาม : ในการจัดอบรมไม่จ่ายค่าพาหนะให้ผู้เขารับการอบรมได้หรือไม่ แต่จะให้เป็นสิ่งของซึ่งโครงการมีค่าใช้จ่ายค่าพาหนะของผู้เข้ารับการอบรม
คำตอบ : ไม่ได้ เนื่องจาก ในโครงการได้ขออนุมัติจ่ายเป็นค่าพาหนะไว้แล้ว
4.คำถาม : การจัดโครงการฝึกอบรม เชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐที่ออกนอกระบบมาเป็นวิทยากรจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากร ตามอัตราบุคคลภายนอกหรือบุคลากรของรัฐ
คำตอบ : เบิกจ่ายตามอัตราบุคลากรของรัฐ เนื่องจากมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบยังอยู่ในกำกับของรัฐยังรับเงินอุดหนุนจากรัฐ
5.คำถาม : เบิกค่ากระเช้าให้ประธานพิธีเปิดได้หรือไม่
คำตอบ : ไม่สามารถเบิกได้เนื่องจากไม่ได้เป็นค่าใช้จ่าย
4.ค่าเช่าบ้าน
1.คำถาม : กรณีข้าราชการได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการให้เช่าบ้านเพื่อพักอาศัยเนื่องจากไม่มีบ้านพักของทางราชการจัดให้ ข้าราชการผู้นั้นได้เช่าบ้านในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 และได้จัดทำเอกสารขออนุมัติเบิกค่าเช่าบ้าน ซึ่งได้แนบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจ สภาพบ้านเช่าลงวันที่10กนยายน2562อยากทราบว่าคำสั่งดังกล่าวใช้ประกอบการ เบิกจ่ายได้หรือไม่กรณีไม่ได้ควรจะดำเนินการอย่างไรและถ้าได้จะสามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2562 หรือไม่
คำตอบ : ได้กรณีดังกล่าวสามารถเบิกจ่ายได้ ตั้งแต่วันที่ข้าราชการได้เช่าและอาศัยจริงในบ้านหลังดังกล่าวตามมาตรา 14 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม
2.คำถาม : กรณีข้าราชการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อบ้าน ต่อมาเกิดปัญหาน้ำท่วมบ้านข้าราชการผู้นั้นไม่ได้ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อกับธนาคาร ยินยอมให้ธนาคารยึดบ้านโดยกรรมสิทธิ์ของบ้านตกเป็นของธนาคาร จึงได้หาซื้อบ้านหลังใหม่ที่คาดว่าน้ำไม่ท่วมในท้องที่เดียวกัน กรณีนี้ข้าราชการผู้นั้นจะสามารถใช้สิทธิในการเบิกค่าเช่าซื้อบ้านหลังใหม่ได้หรือไม่
คำตอบ : ไม่ได้ การเบิกค่าเช่าบ้านกรณีผ่อนชำระเงินกู้เป็นนิติกรรมที่เป็นการกู้ยืมเงินจากธนาคารมาจ่ายให้กับผู้ขายและผู้ซื้อย่อมได้กรรมสิทธิ์ในบ้านที่ซื้อขาย เมื่อต่อมาปล่อยให้ธนาคารยึดไปถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ไปตามมาตรา 17 วรรค 2 ประกอบมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านจากทางราชการ
3.คำถาม : กรณีข้าราชการใช้สิทธิเช่าซื้อบ้านในจังหวัดหนึ่งแล้ว ต่อมาได้ย้ายไปรับราชการอีกจังหวัดหนึ่งหากต้องการซื้อบ้านในที่แห่งใหม่จะสามารถใช้สิทธิเช่าซื้อบ้านได้หรือไม่
คำตอบ : ได้ สามารถใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อบ้านหลังใหม่ได้ เพราะเป็นคนละท้องที่กัน จึงไม่นับว่าบ้านหลังที่เคยใช้สิทธิเป็นบ้านหลักแรกในท้องที่ใหม่ตามมาตรา 17
4.คำถาม : กรณีกู้เงินเพื่อซื้อบ้านพร้อมที่ดินจากธนาคารสูงกว่าวงเงินที่ทำตามสัญญาซื้อขายกับสำนักงานที่ดินกรณีเช่นนี้จะสามารถเบิกจ่ายได้ในวงเงินใด
คำตอบ : เบิกจ่ายได้ ตามวงเงินที่ทำสัญญาซื้อขายกับสำนักงานที่ดินเท่านั้น โดยการใช้สิทธิต้องขอความร่วมมือกับธนาคารให้คำนวณว่า หากมีการกู้ตามวงเงินที่ทำสัญญาซื้อขายจะต้องผ่อนชำระเดือนละเท่าไรมาประกอบการเบิกจ่ายด้วย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 7
5.คำถาม : กรณีมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านโดยเช่าบ้านอยู่แล้ว นำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านในท้องที่ใหม่ได้หรือไม่
คำตอบ : ได้ ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านอยู่แล้ว ต่อมาได้ย้ายไปประจำในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน หากคู่สมรสหรือบุตรซึ่งอยู่ในอุปการะของข้าราชการผู้นั้นไม่อาจ ติดตามข้าราชการผู้นั้นไปได้ และบุคคลดังกล่าวมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านใน ท้องที่เดิมต่อไปให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านในท้องที่ใหม่ได้
6.คำถาม : ข้าราชการ เดินทางทางไปราชการประจำ มีเคหสถานอยู่ในท้องที่ไปราชการประจำโดยมีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน เบิกได้หรือไม่
คำตอบ : เบิกได้เนื่องจากไม่เข้าเกณฑ์
7.คำถาม : คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการเบิกค่าเช่าบ้านย้ายไปจังหวัดอื่น 1 คน สามารถให้คณะกรรมการที่เหลือตรวจสอบข้อเท็จจริงได้หรือไม่
คำตอบ : แต่งตั้งกรรมการเพิ่มโดย แต่งตั้งข้าราชการไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นคณะกรรมการให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
8.คำถาม : หลักฐานซื้อบ้านพร้อมที่ดินและหลักฐานการชำระเงิน มีชื่อผู้สมรสนำมาเบิกค่าเช่าบ้านได้หรือไม่
คำตอบ : ต้องเป็นการซื้อบ้านพร้อมที่ดินระหว่างสมรสหลักฐานการชำระเงิน มีชื่อผู้สมรสนำมาเบิกค่าเช่าบ้านได้
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร
ศาลากลางจังหวัด ชั้น 2 ถนนกำแพงเพชร-สุโขทัย ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์. 0-5570-5046 โทรสาร. 0-5570-5047 E-mail.
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2566 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกำแพงเพชร
Copyright © 2023 Kamphaengphet Province Cooperative Office
ภาพประกอบโดยเว็บไซต์ freepik.com , pixabay.com , flaticon.com